อนุสาวรีย์ขุนหาญพิทักษ์ไพรวัน (ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน)

ข้อมูลผลงาน

  284      52
 
Creative Commons License
อนุสาวรีย์ขุนหาญพิทักษ์ไพรวัน (ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน) is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  อนุสาวรีย์ขุนหาญพิทักษ์ไพรวัน (ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน)
คำอธิบาย :  ขุนด่าน เป็นตำแหน่งผู้ดูแลเขตแดนประจำเมืองหน้าด่านในสมัยกรุงศรีอยุธยาในตำนานท้องถิ่นกลาวถึงขุนด่านเมืองนครนายกว่า มีนามเดิมว่า หาญ เป็นบุตรของขุนพิจิตรไพรสณฑ์ ซึ่งเป็นนายด่านและหัวหน้าหมู่บ้านทิศตะวันออก แขวงเมืองนครนายก เมื่อบิดาถึงแก่กรรมแล้ว นายหาญได้รับหน้าที่สืบต่อจากบิดาโดยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ว่า ขุญหาญพิทักษ์ไพรวัน ในปีพุทธศักราช ๒๑๓๐ รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระยาละแวก เจ้าเมืองเขมร ส่งกองทัพมาตีเมืองปราจีนและเมืองนครนายก เพื่อกวาดต้อนผู้คนและปล้นทรัพย์สิน ขุนด่านหาญผู้นี้รีบแจ้งข่าวไปยังกรุงศรีอยุธยา และรวมกำลังผู้คนดักซุ่มโจมตีกองทัพพระยาละแวกไม่ให้ผ่านไปโดยง่าย แม้ว่าจะมีกำลังน้อยกว่าแต่ก็ทำให้กองทัพพระยาละแวกได้รับความเสียหายมิใช่น้อย จนในที่สุดกรุงศรีอยุธยาส่งกำลังมาช่วย กองทัพเขมรจึงแตกพ่ายไปในที่สุด คุณความดีที่ขุนหาญพิทักษ์ไพรวัน (ขุนด่าน) ได้กระทำในครั้งนั้น ทำให้ผู้คนยกย่องนับถือเป็นอันมากเมื่อถึงแก่กรรม ชาวบ้านจึงได้สร้างศาลบรรจุอัฐิไว้บริเวณหุบเขาชะโงก ตำบลพรหมณี อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก เรียกกันว่า ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป, ผู้ปกครอง
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   คณะทำงานข้อมูลท้องถิ่น ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
คำสำคัญ :   อนุสาวรีย์, ขุญหาญพิทักษ์ไพรวัน, ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน, ประวัติ, การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
URL  :   -
จำแนกตามระดับชั้น :   ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   รูปภาพ

 ไฟล์ดิจิทัล

- ดาวน์โหลด 1 (2.93 MB)
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง